วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน
ภาพดาวเนปจูนจากยานวอยเอเจอร์ 2
ถ่ายเมื่อ
16-17 สิงหาคม พ.ศ. 2532

ดาวเนปจูน (อังกฤษ:Neptune)                                                                                                                                                      ชื่อไทยว่า ดาวสมุทร หรือ ดาวเกตุ
ซึ่งการค้นพบดาวเนปจูน  เมื่อครั้งที่มีการค้นพบดาวยูเรนัส ครั้งนั้นนักวิทยาศาสตร์พบว่าวงโคจรของดาวยูเรนัสมีความผิดปรกติไม่เป็นไปตามกฎของนิวตัน จึงตั้งข้อสังเกตกันว่า ถัดจากดาวยูเรนัสน่าจะต้องมีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อยู่ถัดออกไปที่มีขนาดใหญ่พอจะรบกวนวงโคจรของดาวยูเรนัสได้
 และคำตอบของท้องฟ้าก็เผยขึ้นเมื่อ จอห์น คูช แอดัมส์ (John Couch Adams) นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำนายตำแหน่งดาวเนปจูนด้วยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เพื่อใช้อธิบายความผิดปกติของวงโคจรของดาวยูเรนัส และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เออร์เบียน โจเซฟ เลอ เวอเรียร์ (Urbain Joseph Le Verrier) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้เชี่ยวชาญด้าน Celestial mechanics ทำงานประจำหอดูดาวปารีส  ก็ได้ใช้วิธีทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์อาศัยข้อมูลตำแหน่งของการค้นพบดาวพฤหัส,เสาร์และยูเรนัส  เพื่อช่วยเหลือเพื่อนนักดาราศาสตร์เยอรมัน ชื่อ โจฮัน ก็อทฟรีด กาลล์ (Johann Gotfried Galle) เพื่อหาตำแหน่งของดาวที่ส่งผลต่อวงโคจรของดาวยูเรนัสเช่นกัน   ในวันที่ในวันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1846 ในคืนแรกของการสำรวจ ณ หอดูดาวเบอร์ลิน(Urania Observatory in Berlin) โดยความช่วยเหลือของลูกศิษย์ชื่อ ไฮน์ริช หลุยส์ เดอ อาร์เรสท์ (Heinrich Louis d'Arrest) ก็ได้ใช้กล้องส่องหาดาวเคราะห์ตามตำแหน่งที่ได้คำนวณไว้ และ Galle ก็คือนักดาราศาสตร์คนแรกที่เห็นดาวดวงที่ว่านี้ ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่คำนวณไว้